ปัจจุบันสังคมไทยกำลังเผชิญกับความแตกแยกทางความคิดขั้นรุนแรงมีการแบางฝ่ายเป็นสีต่างๆ แม้แต่ในที่ทำงานในสถาบัน หรือครอบครัวเดียวกันก็ตาม ส่งผลให้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่การทำรับประหาร ในปีพ.ศ.2549 มาถึงการก่อม็อบ ยึดสนามบิน ธรรมเนียบรัฐบาลย่านชุมนมธุรกิจในกลางเมือง ก่อให้เกิดความเสียหายทางเสรษฐกิจอย่างมาก มีจำนวนผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของไทย ยังมีความสับสนในแนวทางการเเก้ไขสถานภาพของบ้านเมืองในปัจจุบันอาจเรียกได้ว่าอยู่ในสภาวะสุญญากาศ
ความขัดแย้งหมายถึง ปฏิสัมพันธ์ที่มีลักษณะของความไม่เป็นมิตรหรือตรงกันข้ามกัน หรือไม่ลงลอยกัน หรือความไม่สอกคล้องกัน ลักษณะความไม่ลงลอยกันหรือความไม่สอดคล้องกันนี้จะเกี่ยวข้องกับประเด็นต่างๆ หลายประเด็น เช่น เป้าหมาย ความคิด ทัศนคติ ความรู้สึก ค่านิยม ความสนใจ ความสัมพันธ์ เป็นต้น
ความขัดแย้งในสังคมไทยมีมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันก่อให้เกิด
ความเลื่อมล้ำในสังคมและปัญหาในสังคมต่างๆ ตามมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการเมือง ปัญหาสังคม ปัญหาครอบครัว และปัยหายาเสพติด สังคมทุกสังคมย่อมหลีกเลี่ยงความขัดแย้งไม่ได้ ความขัดแย้งในสังคมจึงเป็นเรื่องปกติเว้นแต่เพียงว่าความขัดแย้งดังกล่าวยังสามารถหาข้อยุติได้ในกรอบของกลไกที่มีอยู่ในสังคมได้หรือไม่
ตอนนี้สังคมไทยเรายังมีความขัดแย้งและไม่ลงตัวอย่างมากส่งผลให้ประเทศไทยยังมีการพัฒนาที่ล่าช้า อันเนื่องมาจากความไม่สามัคคีของคนไทย
บทสัมภาษณ์ อาจารย์แสงเพชร คูหาเรืองรอง
1) คิดว่าสาเหตุความของความขัดแย้งมาจากอะไรคะ
ตอบ คงเป็นเพราะความไม่ร่วมมือของคนในประเทศ แล้วเอาความคิดของตนเป็นหลักจนไม่สนใจความคิดของคนอื่น มันจึงเกิดปัญหาถกเถียงกันมานานอีกทั้งสื่อต่างๆ ตีแผ่ข่าวที่บิดเบือนก็ทำให้คนไทยขาดวิจารณญาณหลงเชื่อแล้วก้ประท้วงตามสิ่งที่ตนคิด
2) ถ้าคนในสังคมไทยหันมาสามัคคีกัน ประเทศจะเป็นอย่างไรคะ
ตอบ ครูคิดว่าสิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนไทยได้ดีที่สุดคือ ในหลวง ครูเชื่อว่าต่อให้คนไทยจะมีความคิดที่แตกต่างกันอย่างไร แต่สิ่งที่คนไทยรักและยึดมั่นคือ ในหลวง ถ้าคนไทยทุกคนเอาหลักความคิดของในหลวงมาใช้ เชื่อฟังคำแนะนำและคำสั่งสอนของท่านคนไทยจะประสบความสำเร็จอย่างมาก เพราะคนไทยมีทั้งสภาพภูมิอากาศ พื้นที่เพาะปลูกที่ดี อาจจะส่งขายต่างประเทศได้ดีกว่าประเทศอื่นๆ ถ้าคนไทยนั้นหันมาสามัคคี เชื่อฟังในหลวง ช่วยเหลือซึ่งกันและกันประเทศต้องพัฒนาไม่ล้าหลังอย่างแน่นอน
3) คิดอย่างไรกับปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทย
ตอบ ตอนนี้คนไทยมีปัญหาความขัดแย้งกันอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องของการปกครองบ้านเมือง ยังอยู่ในจุดที่ไม่รู้อะไรแน่นอน ทำให้ประเทศยังมีการพัฒนาและแก้ไขปัญหาอื่นๆได้ไม่เต็มประสิทธิภาพนัก
4) คิดว่าปัญหาความขัดแย้งส่งผลกระทบอะไรแก่พวกเราบ้างคะ
ตอบ ส่งผลให้บ้านเมืองไม่สงบสุข รัฐบาลพัฒนางานได้อย่างไม่เต็มที่ เศรษฐกิจตกต่ำ
5) อาจารย์คิดว่าแนวทางการแก้ไขปัญหาคืออะไร
ตอบ กฎหมายความยุติธรรม เป็นกลาง รับฟังประชาชนอย่างเป็นกลางและมีความเข้าใจประชาชน แล้วก็ควรจัดกิจกรรมที่คนในสังคมทำร่วมกัน รู้จักมีน้ำใจต่อกันมากขึ้น และปลูกฝังให้เด็กๆ วัยรุ่นรู้ว่าการใช้ความรุนแรงไม่ใช้ทางออกที่ดี
ความคิดเห็นของสมาชิกในกลุ่ม :)
1. นางสาวอมรรัตน์ เอี่ยมสอาด
: ความขัดแย้งที่เกิดจากความไม่เข้าใจกัน ความคิดเห็นต่างกัน ใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผลในการพูดคุยกัน ฉันคิดว่าประชาชนคนไทยมีความขัดแย้งในทุกวันนี้เพราะความคิดเห็นไม่ตรงกันจึงเกิดการแบ่งสีแบ่งฝ่าย แบ่งพรรคแบ่งพวก ไม่เป็นหนึางใจเดียวกันเราต้องค่อยๆ ปรึกษาหารือกัน ปัญหาส่วนหนึ่งมาจากเรื่องของการเมืองผู้นำต้องจูงใจคนไทยทั้งชาติให้รักกัน พวกเราต้องใช้วิจารณญาณในการฟังข่าวมากขึ้น ไม่เข้าข้างใดข้างหนึ่งมีเหตุผลละเอียดอ่อนในการพูดคุย เรื่องการเมือง ฉันคิดว่าเท่านี้ ประเทศไทยของเราคงลดปัญหาความขัดแย้งได้มากขึ้นค่ะ
2. นางสาวชลธิชา บัวทอง
: คิดว่าความขัดแย้งในสังคมไทยย่อมมีการแก้ไขอย่างถูกวิธี ปัญหาความขัดแย้งต่างๆล้วนเกิดจากความไม่เข้าใจของคนในสังคม ทำให้เกิดผลกระทบหลายประการ การปกครอง เศรษฐกิจ ทรัพยากร ฉันคิดว่าการแก้ไขปัญหาสิ่งแรกคือคนไทยทุกคนควรจะมีความสามัคคี รับฟังปัญหาช่วยเหลือแบ่งปัน ทำให้เกิดความคิดในการแก้ไขปัญหาต่างๆได้ดี
3. นางสาวอภิวรรณารัตน์ ธีรานุกูล
: ควรเข้าใจกันให้มากขึ้น คิดถึงประเทศชาติเป็นส่วนใหญ่ ไม่ใช่คิดถึงแต่ตัวเองความขัดแย้งในเรื่องต่างๆก็จะก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมามากมาย
4. นางสาวสุกัญญา ภู่เชิด
: ไม่ควรแย่งชิงอำนาจทางการเมือง ความขัดแย้งในเรื่องต่างๆ ควรมีสิทธิเท่าเทียมกันแนวคิดและความหวังต่อระบอบประชาธิปไตยต่างกัน
5. นางสาวดาราภรณ์ ดิษยพงษ์
: คิดว่าความขัดแย้งส่วนใหญ่เกิดจากการไม่เข้าใจกันและต่างคนต่างความคิด แต่ถ้าเราสามารถพูดคยกันดีๆโดยการอธิบายให้อีกคนเข้าใจว่าที่เราต้องการมีประโยชน์อย่างไรเท่านั้นเราก็สามารถขจัดปัญหาความขัดแย้งออกไปได้
----------------------------------------------------
บทสรุป
ความขัดแย้ง ดังที่กล่าวมาข้างต้นก็คือ ปฏิสัมพันธ์ที่มีลักษณะของความไม่เป็นมิตรหรือตรงกันข้ามหรือไม่ลงรอยกันหรือความไม่สอดคล้องกันลักษณะของความไม่ลงรอยกันหรือไม่สอดคล้องกันนี้จะเกี่ยวข้องกับประเด็นต่างๆ หลายประเด็น เช่น
เป้าหมาย ความคิด ทัศนคติ ความรู้สึก ค่านิยม ความสนใจ ความสัมพันธ์ เป็นต้น
เป้าหมาย ความคิด ทัศนคติ ความรู้สึก ค่านิยม ความสนใจ ความสัมพันธ์ เป็นต้น
------------------------------------------------------------------------------------------ THE END --------